วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

V-Killer in FD [วิธีฆ่าไวรัสในแฟลชไดร์ฟ]


[วิธีฆ่าไวรัสในแฟลชไดร์ฟ]

ในปัจจุบันนี้เราคงปฎิเธสไม่ได้ว่า แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งไปแล้ว ซึ่งหลายคนก็ต้องมีพกติดตัวตลอดเวลา พอๆกับการพกโทรศัพท์มือถือ เพราะมันสามารถบันทึกข้อมูลได้เยอะแยะไปหมด ทำให้เราใช้งานง่าย เมื่ออยากได้ข้อมูลที่เครื่องโน้น เครื่องนี้ก็สามรถเสียบแล้วดึงข้อมูลมาได้เลย ซึ่งการกระทำแบบนี้ๆแหละที่ทำให้เจ้าไวรัสตัวร้ายตัวนี้แพร่กระจายไปอย่างง่ายดายหรือเกิน เราจึงต้องหาวิธีการกำจัดเจ้าตัววายร้ายตัวนี้ ก่อนที่มันจะมาทำลายข้อมูลในเครื่องของเรา
 
ก่อนที่เราจะกำจัดไวรัสตัวร้ายตัวนี้ไปจากเราได้นั้น เราก็ต้องรู้ก่อนว่าแฟลชไดร์ฟที่เราใช้งานมันทุกวี่ทุกวันนี้ได้ติดไวรัสมาหรือไม่ ขั้นแรกให้ตรวจเช็คแฟลชไดร์ ตามวิธีต่อไปนี้
  1. กด Shift ค้างขณะเสียบแฟลชไดร์ฟประมาณ 10 วินาที
  2. Double Click ที่ My computer
  3. คลิกขวาที่แฟลชไดร์ฟถ้าปรากฎคำว่า Open อยู่บนสุด แสดงว่า แฟลชไดร์ฟไม่มีไวรัส แต่ถ้าปรากฎคำว่า Auto Play อยู่บนสุดแสดงว่ามีไวรัส หรือ  Double Click  ที่แฟลชไดร์ฟ แล้วปรากฎคำว่า Open with ก็แสดงว่ามีไวรัสอยู่เช่นเดียวกัน
 
เมื่อเราได้ตรวจเช็คแฟลชไดร์ฟแล้ว ปรากฎว่าแฟลชไดร์ฟนั้นมีไวรัส เรามีวิธีฆ่าไวรัสแบบง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้มาฝากกันดังนี้
  1. Double Click เพื่อเปิด My computer ขึ้นมา
  2. Double Click เพื่อเปิด USB Drive
  3. คลิกเลือก Tools
  4. คลิกเลือก Folder Options
  5. เลือก View
  6. คลิกเลือก Show hidden files and folders
  7. คลิกที่ปุ่ม Hide extensions for known file types เพื่อทำการเลือกออก
  8. คลิกที่ปุ่ม Hide protected operating system files เพื่อทำการเลือกออก  กด Apply แล้วกด OK (จะปรากฎ Folder เป็นเงา ๆขึ้น (นั่นคือไวรัส))
  9. คลิกเลือก Recycled system Volume information Autorlin.inf msvcr71.dll (Folder ไวรัสจะปรากฎขึ้น)
  10. กด Delete เพื่อฆ่าไวรัส
  11. ขั้นสุดท้ายนี้คือการตรวจแฟลชไดร์ฟอีกครั้ง  ว่าไวรัสได้หายไปหรือไม่
 
         ข้อควรระวัง ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ คือ เราต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเสมอ เพื่อเป็นการปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเราไม่ควรใช้แฟลชไดร์ฟร่วมกับคนอื่น ถ้าจำเป็นก็ให้ขยันสแกนไวรัส โดยไม่ปล่อยให้มันลุกลาม และมีอาการหนัก  เราขอแนะนำโปรแกรมจัดการกับไวรัส ดังนี้
o      Trend Micro Sysclean Package
o      avast! Virus Cleaner Tool
o      Cureit Scaner for Windows
o      Ad-Aware SE Professional Build 1.06r1
o      ClamWin Free Antivirus Version 0.93.1
o      RemoveIT Pro v4 – SE
เพียงเท่านี้ เราก็ใช้ แฟลชไดร์ฟ อย่างสะบายใจได้แล้ว โดยไม่ต้องคอยระแวงว่า แฟลชไดร์ฟและคอมพิวเตอร์ของคุณจะโดนไวรัสอีกต่อไป
ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย

10 วิธีใช้แฟลชไดรฟ์ที่คุณคาดไม่ถึง


10 วิธีใช้แฟลชไดรฟ์ที่คุณคาดไม่ถึง

ไม่อยากพูดเยอะ ไปดูกันเถอะ
ปล. มีแต่เสียง เหมือนวิทยุ
(จาก ครอบครัวข่าว FM106 Mhz)



ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย

รวมสารพันปัญหา USB Flash Drive


รวมสารพันปัญหา USB Flash Drive


อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณประโยชน์ของแฟลชไดรฟ์ที่มากล้นนี้เอง จึงทำให้การใช้งานมากขึ้นและสิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาต่างๆ ที่แวะเวียนมาให้เจอกันอยู่ประจำ ซึ่งบางปัญหาก็เรื้อรังจนยากจะแก้ไข แต่บางปัญหาก็อาจต้องใช้ความเข้าใจอยู่บ้าง ในการแก้ไข ซึ่งบอกได้เลยว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด


-USB Recognize สาเหตุที่เจอกันบ่อย เนื่องจากความไม่ Compatible กันระหว่างเมนบอร์ดและแฟลชไดรฟ์ ซึ่งบางทีไดรเวอร์ของ USB Chipset เป็นรุ่น USB เวอร์ชั่นเก่า แต่แฟลชไดรฟ์รุ่นใหม่กลายเป็น USB 3.0 ไปหมดแล้ว ซึ่งบางครั้ง ยิ่งใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า ก็ยิ่งไม่มีไดรเวอร์ให้ใช้งาน ทางออกที่พอทำได้ก็คือ หาไดรเวอร์ของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ มาอัพเกรดใหม่อีกครั้งหนึ่ง
-USB Flash Drive ไม่ทำงาน เป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่ไฟเลี้ยงจากเมนบอร์ดส่งมายังแฟลชไดรฟ์ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมักจะเห็นได้จากการใช้พอร์ต USB ด้านหน้าเครื่องหรือบางครั้งก็เกิดจากการต่อผ่านสาย USB ที่มาจากด้านหลังเครื่องอีกทีหนึ่ง ซึ่งทางแก้ไขก็อาจจะต้องต่อเข้ากับพอร์ตโดยตรงหรือการเปลี่ยนสายต่อเส้นใหม่
-แฟลชไดรฟ์ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ปัญหานี้อาจเกิดจากการทับซ้อนกันของ Letter path ซึ่งเป็นตัวระบุชื่อไดรฟ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง โดยเฉพาะคอมพ์ที่มีการติดตั้ง Reader Card มักจะพบปัญหาบ่อย ทางแก้ก็คือ ให้เมาส์ขวาที่ My Computer แล้วคลิกที่ Disk Management ให้เลือกที่ช่องของแฟลชไดรฟ์ คลิกขวาเปลี่ยน Change Drive Letter and Paths ให้เป็นไดรฟ์อื่นเท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว
-Copy file ไม่ได้ ฟ้องว่า There is not enough disk space ตลอดเวลา ข้อนี้สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์นั้นเป็นแบบ FAT หรือ FAT32 จึงไม่สามารถ Copy file ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB ได้ ดังนั้นแนวทางแก้ไข ก็ควรจะฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์ตัวดังกล่าวให้เป็น NTFS เสีย
-เสียบแฟลชไดรฟ์ ใช้งานเสร็จก็ถอด ไม่กี่ครั้งก็เสีย ปัญหานี้เจอกันบ่อย โดยเฉพาะกับคนที่มักจะใช้แฟลชไดรฟ์แบบไม่มัดระวัง ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่ควรถอดแฟลชไดรฟ์ระหว่างการทำงานหรือแม้กระทั่งทำงานเสร็จแล้ว ก็ควรจะตัดระบบการทำงานให้เรียบร้อยเสียก่อน ด้วยการเมาส์ขวาที่ไอคอนพอร์ต USB มุมล่างขวาของหน้าจอแล้วสั่ง Safely Remove แล้วจึงค่อยดึงแฟลชไดรฟ์ออกจากพอร์ต

ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย

ทดลองวงจรออสซิลเลเตอร์แบบ crystal


ทดลองวงจรออสซิลเลเตอร์แบบ crystal


วงจร Crystal oscillators เป็นวงจรกำเนิดความถี่ที่นิยมใช้งานกันมาก มีข้อดีที่ไม่สามารถหาได้จากวงจรกำเนิดความถี่แบบอื่น ๆ คือ เสียรภาพทางความถี่เป็นเยียม หรือว่ามีความถี่ที่คงที่อยู่ตลอดเวลา





ตัวอย่างวงจรที่จะนำมาทดลองสร้าง
อุปกรณ์จำพวก Crystal เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ค่อนข้างบอบบาง เวลาใช้งาน Crystal ต้องให้ทำงานที่ระดับแรงดันต่ำ ๆ ถ้าเกิดความร้อนอาจจะทำให้ความถี่ผิดเพี้ยน หรือเสียหายได้


วงจรที่ประกอบขึ้นมาจากอะไหลเก่า ๆ่้

สัญญาณ OUTPUT
จากการทดลอง เมื่อประกอบวงจรเสร็จพร้อมใช้งาน ลองนำไปวางใกล้ ๆ เครื่องรับ (ต้นแบบผลิตความถี่ 27 MHz) ผลปรากฏว่า เครื่องรับสามารถรับสัญญาณได้ดี ลองปรับไปโหมด CW แล้วลองใส่คีย์ที่วงจร Oscillator เสียงที่ออกมาใส่เจ๋วเลยครับ
ปรากฏการณ์เพียซโซอิเล็กทริก (Piezoelectric Effect) คือปรากฏการทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขณะที่ผลึก Crystal ถูกกดอัด ถูกขยาย หรือถูกบิดให้ผิดจากรูปร่างในสถาวะปกติ ผลึก Crystal จะจ่ายแรงดันไฟฟ้าระดับต่ำ ๆ ออกมา ในทางกลับกัน ถ้าจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ผลึก Crystal จะทำให้ ผลึก Crystal เกิดความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพขึ้น

วงจรออสซิลเลเตอร์แบบ crystal สามารถต่อได้หลายรูปแบบ


Crystal oscillators แบบ Tuned Collector


Crystal oscillators แบบ Colpitts
ค่า C หาได้จาก CuF = 1/2 F XC

Pierce oscillator for frequencies between10 and 20 MHz.


ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย

มาสร้างแฟลชไดร์ สไตล์เราเองกันดีกว่า....


มาสร้างแฟลชไดร์ สไตล์เราเองกันดีกว่า....




- สิ่งที่ต้องเตรียม

1. แฟลชไดร์ 1 อัน
2. คัตเตอร์ 1 อัน
3. อุปกรณ์ที่นำมาทำกล่องแฟลชไดร์ อันใหม่ 1 อัน
( ในที่นี้ใช้กล่องใส่ใส้ดินสอ... )
4. เลื่อยเล็กๆ หรือตะไบ หรือกรดาษทราย ก็ได้
5. กาว
6. เริ่มลงมือ...

- ขั้นตอนการสร้าง (เน้นง่ายๆ)

1. นำคัตเตอร์กรีดฝาครอบแฟลชไดร์ ที่เป็นพลาสติกออก
( เราเอาเฉพาะแผ่นวงจรด้านใน เท่านั้น )



ค่อยๆ งัดออกครับ



เราใช้เพาะแผ่นวงจรที่เปลือยนะครับ



2. นำตะไบหรือกรดาษทราย ถู หรือใช้เลื่อยเล็กๆ ตัดส่วนที่เราไม่ต้องการออก



ลองเอาแฟลชไดร์เสียบเข้าไป ถ้าแน่นก็เอาตะไบแต่งรูข้างในครับ



3. นำแผ่นวงจรแฟลชไดร์ ใส่เข้าไป



4. ติดกาว นิดหน่อย
5. เสร็จแล้ว


6. และแล้วก็ได้ แฟลชไดร์ เก๋ๆ ไว้ใช้แล้ว

 



ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย

Write-protect switch


Write-protect switch

Write-protect switchเป็นกลไกทางกายภาพที่ป้องกันไม่ให้การปรับเปลี่ยนหรือลบที่มีค่าของข้อมูลบนอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ในเชิงพาณิชย์และเสียงและวิดีโอที่มีการขายก่อนที่มีการป้องกัน

เขียนบล็อก

เขียนบล็อกย่อยของการป้องกันการเขียนที่เป็นเทคนิคที่ใช้ในการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะรักษาความสมบูรณ์ของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล โดยการป้องกันการดำเนินการเขียนทั้งหมดไปยังอุปกรณ์เช่นฮาร์ดไดรฟ์ก็สามารถมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงโดยวิธีการกู้คืนข้อมูล
ฮาร์ดแวร์เขียนบล็อกถูกคิดค้นโดยมาร์ค Menz และสตีฟ Bress (สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา 6813682 และสิทธิบัตร EP1 สหภาพยุโรป 342145)

ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แววิธีการเขียนบล็อกที่มีการใช้ แต่การสกัดกั้นซอฟต์แวร์โดยทั่วไปไม่เป็นที่เชื่อถือได้[ 1 ]

ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย

LED


LED

ไดโอดเปล่งแสง (อังกฤษ: light-emitting diode หรือย่อว่า LED) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกไดโอด ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อถูกไบอัสทางไฟฟ้าในทิศทางไปข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้อยู่ในรูปของ electroluminescence สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุกึ่งตัวนำที่ใช้ และเปล่งแสงได้ใกล้ช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงแสงที่มองเห็น และช่วงอินฟราเรด ผู้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงขึ้นเป็นคนแรก คือ นิก โฮโลยัก (Nick Holonyak Jr.) (เกิด ค.ศ. 1928) แห่งบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก (General Electric Company) โดยได้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงในช่วงแสงที่มองเห็น และสามารถใช้งานได้ในเชิงปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1962

ตัวแปรต่างๆในการเลือกใช้ LED

color (wavelength)
เป็นตัวบอกสี ซึ่งหมายถึงขนาดของความยาวคลื่นที่ LED เปล่งแสงออกมา เช่น
  • สีฟ้า จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
  • สีขาว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 462nm
  • สีเหลือง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
  • สีเขียว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 565nm
  • สีแดง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 630nm เป็นต้น
lens
เป็นตัวบอกประเภทและวัสดุที่ใช้ทำ เช่น
  1. color diffused lens
  2. water clear lens
millicandela rating
เป็นตัวบอกค่าความสว่างของแสงที่ LED เปล่งออกมา ยิ่งมีค่ามากยิ่งสว่างมาก
voltage rating
อัตตราการทน[[ความต่างศักย์ไฟฟ้า] ที่ LED รับได้และไม่พัง


ข้อมูลเพื่มเติม : วิกิพีเดีย ประเทศไทย